
ความเชื่อ เรื่อง พระพิฆเนศวรในบริบทของสังคมไทย
พระพิฆเนศวรกับศิลปวิทยาการ
กระแสความนิยมในการบูชาพระพิฆเนศวรสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพศิลปกรรมโดยตรงค่อนข้าง
จะคงที่ มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับพระพิฆเนศวรโดยศิลปินระดับแนวหน้าของเมืองไทยบ้างแต่ไม่มาก อาทิเช่น ภาพลายเส้นพระพิฆเนศวรของ อ.ช่วง มูลพินิจ ซึ่งได้เขียนภาพหลายเส้นเอกรงค์เกี่ยวกับพระพิฆเนศวร
เป็นรูปที่ก่อให้เกิดความรู้สึกในทางจิตวิญญาณเป็นอย่างสูง
สำหรับในด้านการแสดงนาฏศิลป์ ได้นำพระพิฆเนศวรเข้ามาในการแสดงโขนละครไทย โดยจัดสร้างเป็นหัวโขน หรือศีรษะพระพิฆเนศวร เพื่อใช้สำหรับในการแสดง และการบูชาสักการะ ซึ่งมักเล่นตอน พระพิฆเนศวรเสียงามากที่สุด ตัวอย่างการแสดงพระพิฆเนศวรเสียงา ในรายการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 7 รอบ
ในด้านของคีตศิลป์ ก็ได้มีบทเพลงสวดสรรเสริญที่แต่งขึ้นเพื่อสรรเสริญบูชาองค์พระพิฆเนศวร
อย่างแพร่หลาย โดยบทเพลงจะช่วยให้มนุษย์สามารถจดจำบทสวดสรรเสริญได้ง่ายและดียิ่งขึ้น มีทำนองประกอบจังหวะควบคู่ไปกับคำร้อง ตัวอย่างบทเพลงสรรเสริญองค์พระพิฆเนศวร อาทิเช่น
เพลง : Jai Ganesh Jai Ganesh Jai Ganesh Deva ผู้ขับร้อง : Various Artists
ปัจจุบันได้มีการจัดสร้างภาพยนตร์ในรูปแบบการ์ตูนอนิเมชั่น เพื่อเผยแพร่ประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และปลูกฝังความศรัทธาให้แก่เยาวชน รวมทั้งบุคคลทั่วไปในทุกเพศทุกวัย ทำให้สามารถเข้าถึงองค์พระพิฆเนศวรได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยทีมผู้สร้างภาพยนตร์(Pankaj sharma)กล่าวว่า ภาพยนตร์อนิเมชั่น
พระพิฆเนศวรมหาเทพแห่งปัญญา หรือ Bal Ganesh เกิดขึ้นด้วยความมุ่งหวังที่จะให้เป็นงานซึ่งเด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดีขณะเดียวกับการหยิบเอาเรื่องราวของพระพิฆเนศวรมาสร้างเป็นภาพยนตร์อนิเมชั่น โดยหยิบเอาเรื่องราวในวัยเด็กของพระพิฆเนศวร จากคำเชื่อมั่นว่าเรื่องราวของพระพิฆเนศวรนั้นไม่ได้เป็นที่รู้จักแค่คนอินเดีย แต่มีคนทั่วโลกจำนวนมหาศาล ที่ไม่เพียงแต่จะรู้จักพระพิฆเนศวรเท่านั้น หากยังนับถือ เลื่อมใส เคารพศรัทธาถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสิ่งหนึ่งของชีวิตเลยทีเดียว เพราะเป็นที่เชื่อกันว่าพระพิฆเนศวรนั้นเป็นมหาเทพแห่งปัญญาที่จะนำพาผู้เคารพบูชาผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงก้าวไปสู่ความสำเร็จในที่สุดได้
