
ความเชื่อ เรื่อง พระพิฆเนศวรในบริบทของสังคมไทย
พระพิฆเนศวรกับการนำมาเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน
จากคติความเชื่อที่ว่าพระพิฆเนศวรเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ โดยในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ด้วยความเลื่อมใสของพระองค์ที่มีต่อองค์พระพิฆเนศวร จนถึงขนาดที่ว่าได้โปรดเกล้าฯให้สร้างเทวาลัยเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระพิฆเนศวรขึ้น ณ พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับ พระพิฆเนศวรไว้สําหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้งวรรณคดีสโมสรก็พระราชทานเทวรูป พระพิฆเนศวรเป็นตราประจําสถาบันนั้น เมื่อกรมศิลปากรเกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจํากรม โดยตรากรมศิลปากร ใช้เป็นรูปพระพิฆเนศวรประทับลวดลายกระหนก ลักษณะคล้ายเมฆ ทรงถือปาศะครอบน้ำวัชระ และทันตะอยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยดวงแก้ว 7 ดวง หมายถึง
ศิลปวิทยา 7 อย่าง ที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของกรมศิลปากร และต่อมายังได้ใช้เป็นตราประจํามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยช่างศิลป์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Follow me on Twitter
View me on Flickr
Like me on Facebook
Follow me on Instagram




ตรากรมศิลปากร
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/กรมศิลปากร
ตราประจํามหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่มา: https://www.silpakorn -u.com/
ตราประจำวิทยาลัยช่างศิลป์
ที่มา: http://logosociety.blogspot.com/2010/08/blog-post_2735.html
ตราประจำสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ที่มา: http://logosociety.blogspot.com/2010/08/blog-post_2183.html
-อ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2554. [ออนไลน์]. ตราสัญลักษณ์กรมศิลปากร. กรมศิลปากร เข้าถึงได้จาก; https://th.wikipedia.
org/wiki/กรมศิลปากร. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 พฤศจิกายน 2559.)
ISARAKUL. 2553. [ออนไลน์]. ตราสัญลักษณ์ วิทยาลัยช่างศิลป. วิทยาลัยช่างศิลป เข้าถึงได้จาก; http://logosociety.
blogspot.com/2010/08/blog-post_2735.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 พฤศจิกายน 2559.)
ISARAKUL. 2553. [ออนไลน์]. ตราสัญลักษณ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เข้าถึงได้จาก; http://logosociety.blogspot.com/2010/08/blog-post_2183.html. (วันที่ค้นข้อมูล:4 พฤศจิกายน 2559.)
สยามคเณศดอทคอม. 2559. [ออนไลน์]. เรื่องน่ารู้เบื้องต้น เกี่ยวกับพระพิฆเณศ. เข้าถึงได้จาก; http://www.siamganesh.
com/firstknow.html. (วันที่ค้นข้อมูล:4 พฤศจิกายน 2559.)