top of page

             สยามมีอารยธรรมที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นและได้รับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาตั้งแต่โบราณ โดยรับผ่านเข้ามาจากรัฐฟูนันซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองในแถบเขมรมาอยู่ก่อนหน้าแล้ว และในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12–16 อันเป็นช่วงยุคสมัยของอารยธรรมทวารวดีที่มีความเจริญรุ่งเรืองในแถบภาคกลาง แผ่อิทธิพลขึ้นไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้ภูมิภาคดังกล่าวได้รับอิทธิพลทั้งทางศาสนาและทางศิลปวัฒนธรรมจากอินเดีย โดยมีข้อสันนิษฐานว่าอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร เทพเจ้าตามคติพราหมณ์-ฮินดูองค์นี้ เข้ามาแผ่อิทธิพลสู่ดินแดนประเทศไทยทางภาคใต้ ซึ่งได้รับอิทธิพลโดยตรงจากอินเดีย ราวพุทธศตวรรษที่ 7–8
             ดังนั้นการนับถือพระพิฆเนศวรในประเทศไทยจึงสามารถลำดับยุคสมัยได้ เท่าที่มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันไว้ ดังนี้

-อ้างอิง
       สำนักพิมพ์สยามคเณช.  2554.[ออนไลน์].ประวัติพระพิฆเนศในประเทศไทย.  พระพิฆเนศวร
เข้าถึงได้จาก; http://www.siamganesh.com/ganeshthailand.html.  (วันที่ค้นข้อมูล:10พฤศจิกายน 2559.)

       สำนักพิมพ์สยามคเณช.  2554.[ออนไลน์].เทวาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย. พระพิฆเนศวร
เข้าถึงได้จาก; http://www.siamganesh.com/devalai-bangkok.html.  (วันที่ค้นข้อมูล:10พฤศจิกายน 2559.)

       วาทิน สันติ. 2559.[ออนไลน์].วัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เข้าถึงได้จาก; https://www.gotoknow.org/posts/271218.%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%99. (วันที่ค้นข้อมูล:10พฤศจิกายน 2559.)​


1.สมัยเริ่มยุคประวัติศาสตร์ทางภาคใต้และทวารวดี
             เป็นยุคสมัยที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากอินเดีย เทวรูปพระพิฆเนศวรที่พบในประเทศไทยในยุคสมัยนี้ได้แสดงถึงรูปแบบทางศิลปกรรมอย่างเด่นชัด เช่น เทวรูปพระพิฆเนศวรจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์  เสาชิงช้า พระนคร จัดเป็นประติมากรรมพระพิฆเนศวรที่เก่าที่สุดในประเทศไทยและเก่าที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

 

 

 

 

 

 


             นอกจากนี้ยังมีเทวรูปพระพิฆเนศวรที่พบทางภาคใต้ของไทย ที่เมืองโบราณสทิงพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา แสดงให้เห็นว่าได้มีการบูชาเทพเจ้าองค์นี้มาแต่อดีต และสันนิษฐานว่าเป็นเทวรูปพระพิฆเนศวรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในภาคใต้ของไทย อีกทั้งยังมีร่องรอยเทวสถานของพระพิฆเนศวร ปรากฏร่วมกับเทวาลัยพระศิวะและพระวิษณุ ที่แหล่งโบราณคดีเขาคา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช  อาจกล่าวได้ว่าเป็นเทวาลัยสำหรับพระพิฆเนศวรที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

-อ้างอิง
       เรื่องเดียวกัน, หน้า 79. (วันที่ค้นข้อมูล:10พฤศจิกายน 2559.)

2.สมัยสุโขทัย
             มีหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมากที่กล่าวถึงการบูชาเทพเจ้าฮินดูต่างๆ ดังนั้นการสร้างเทวรูปเทพเจ้าองค์สำคัญของฮินดูจึงปรากฏในกรุงสุโขทัย ถึงแม้ว่าศาสนาพุทธหินยานจะเป็นศาสนาหลักของชาวสุโขทัย แต่ศาสนาฮินดูที่ได้รับอิทธิพลมาจากขอม ก็ไม่ได้ถูกลดความสำคัญจนหมดสิ้นไป เพราะยังเป็นประโยชน์ในด้านการเมืองการปกครอง รวมทั้งพราหมณ์ในราชสำนักก็ย่อมใช้เทวาลัยของศาสนาฮินดูในการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับบ้านเมืองและราชสำนัก ทั้งนี้การประกอบพิธีกรรมต่างๆนั้นก็ได้แสดงให้เห็นว่าชาวสุโขทัยมีการบูชาพระพิฆเนศวรด้วย เนื่องจากทุกพิธีกรรมนั้นจะดำเนินไปไม่ได้หากไม่มีการบวงสรวงพระพิฆเนศวรเป็นลำดับแรก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


             ปัจจุบันมีเทวรูปที่เข้าใจกันว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพิฆเนศวรในสมัยสุโขทัยอยู่ไม่มาก  ด้วยเป็นเทวรูปที่อาจจะสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยจริง แต่เป็นการสร้างตอนปลายสมัย หรือช่วงที่คาบเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาแล้ว และมีการอัญเชิญเทวรูปต่างๆจากสุโขทัยมายังกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น เทวรูปพระพิฆเนศวรที่มีลักษณะงดงามประทับยืนตรง เป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลายต่ออยุธยาและยังมีประติมากรรมประทับนั่งแบบชวา ซึ่งอาจมาจากกลุ่มเตาทุเรียงบ้านเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เอกชน เป็นต้น

-อ้างอิง

       จิรัสสา คชาชีวะ, เรื่องเดิม, หน้า 105. (วันที่ค้นข้อมูล:10พฤศจิกายน 2559.)
       ศูนย์ศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2552.[ออนไลน์].ประติมากรรมศิลปะชวา. เข้าถึงได้จาก; http://www.archae.su.ac.th/art_in_south/index.php/joomla-search/result/itemlist/tag/%E0%B8%8A%E0%B8%A7E0%B8%

B2.html. (วันที่ค้นข้อมูล:12พฤศจิกายน 2559.)
 

3.สมัยอยุธยา
             ความเชื่อทางศาสนาฮินดูในสมัยอยุธยามีความมั่นคงและแพร่หลายมากกว่าในสมัยสุโขทัย เพราะเข้ามามีอิทธิพลในหลายด้าน ทั้งการเมืองการปกครอง พิธีกรรมต่างๆที่รับมาจากเขมร จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมและประเพณีของไทย
             ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบหลักฐานการนับถือบูชาพระพิฆเนศวรที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอย่างชัดเจนในพระราชพงศาวดาร โดยกล่าวถึงการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ทำการหล่อเทวรูปพระพิฆเนศวรขึ้นหลายครั้ง พระศรีมโหสถ รัตนกวีประจำราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ประพันธ์บทสรรเสริญและขอพรเทพเจ้าทั้งหลายไว้ท้ายโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงพระพิฆเนศวรในฐานะเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง ดังนี้
                            “ 68 ขอพรพาหบาทไท                    ทรงธาร
                       พระเริ่มรังคชการ                                ก่องกล้า
                            ขอจงแผ่นภูวบาล                           บดิราช
                       สิทธิคชาศิลปะเร้า                                รวดเพี้ยงพระกรรม์ ฯ
                              69 ขอพรพิฆเนศสร้อย                    ศิวบุตร
                       ทรงเครื่องอาภรณ์ภุช                             เงือกง้ำ
                              ขอจงจรรโลงอุด                          ดมโลก
                       แคล้วคลาดภัยพิฆนล้ำ                            เลิศด้วยเสวยรมย์ ฯ”

             หลักฐานที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยอยุธยามีความเชื่อเรื่องพระพิฆเนศวรทั้งในฐานะเทพเจ้าฮินดูที่สำคัญและเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค แล้วยังมีข้อสันนิษฐานจากนักวิชาการว่า ในสมัยนี้มีการนับถือพระพิฆเนศวรในฐานะเทพแห่งศิลปวิทยาด้วย เนื่องจากพระพิฆเนศวรบางองค์ถือเหล็กจาร แต่ด้วยสมัยอยุธยาเคารพพระสรัสวดีเป็นเทพเจ้าทางศิลปวิทยาอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีการเอ่ยถึงพระพิฆเนศวรกันอย่างแพร่หลายและยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงอย่างแน่ชัดอีกด้วย

 

-อ้างอิง
        จิรัสสา คชาชีวะ, เรื่องเดิม, หน้า 70. (วันที่ค้นข้อมูล:10พฤศจิกายน 2559.)
        สำนักพิมพ์สยามคเณช.  2554.[ออนไลน์].พระสรัสวดี.  พระพิฆเนศวร. เข้าถึงได้จาก; http://www.siamganesh.com/saraswati.html. (วันที่ค้นข้อมูล:12พฤศจิกายน 2559.)

4.สมัยรัตนโกสินทร์
             ชนชั้นปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้รับอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือบูชาพระพิฆเนศวรสืบเนื่องมากจากสมัยอยุธยา ด้วยความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์นั้นทำให้มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆในราชสำนัก ซึ่งมีการอัญเชิญเทวรูปพระพิฆเนศวรมาบวงสรวงด้วย และมักเป็นพระราชพิธีที่สำคัญ
เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย–ตรีปวาย (ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว)
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้นในพระราชพิธีที่กล่าวมาข้างต้นนี้
จะมีการอ่านคำสรรเสริญเทพเจ้าต่างๆ โดยจะกล่าวบูชาพระพิฆเนศวรเป็นองค์แรก ส่วนพราหมณ์ที่ประกอบการพระราชพิธีในสมัยรัตนโกสินทร์ทั่วไปเป็นตระกูลพราหมณ์ไศวนิกายซึ่งมาจากนครศรีธรรมราช

 

 

 

 


             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             หลักฐานเกี่ยวกับพระพิฆเนศวรในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น อาจแบ่งได้ตามรัชสมัย ดังต่อไปนี้

-อ้างอิง

       ชลาดาคณปติ.  2554.[ออนไลน์].พระพิฆเนศกับความเชื่อในไทย.  พระพิฆเนศวรเข้าถึงได้จาก; http://ganeshmuseum.blogspot.com.  (วันที่ค้นข้อมูล:11พฤศจิกายน 2559.)


4.1 สมัยรัชกาลที่ 1-3
             ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ (เสาชิงช้า) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) โปรดฯให้สร้างขึ้นมาสำหรับพระนคร ในสถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง) ได้มีการประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศวรที่สง่างามหลายยุคหลายสมัย โบสถ์พราหมณ์แห่งนี้ยังผลิตตำราภาพเทวรูปจำนวนหนึ่ง ประกอบด้วยภาพพระพิฆเนศวรหลายปาง ซึ่งน่าจะคัดลอกจากตำราเก่าสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ

             สมัยรัชกาลที่ 2 ยังไม่มีปรากฏ
             สมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฏภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพิฆเนศวรที่เก่าที่สุดในรัชกาลนี้ เช่น สมุดภาพตำราช้าง
ฉบับช่างเขียนหลวง กล่าวถึงช้างลักษณะต่างๆและมีรูปพระพิฆเนศวรปรากฏอยู่ด้วย แล้วยังปรากฏบนบานหน้าต่างด้านในของพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ในปลายรัชกาลที่ 3 พบภาพจิตรกรรมที่คล้ายกันนี้
แกะสลักไว้บนบานประตูไม้ด้านหลังพระวิหารของวัดเพลงวิปัสสนา กรุงเทพมหานคร และยังปรากฏมาจวบปัจจุบัน 

 

 

 

 

 

 

-อ้างอิง
       สำนักพิมพ์สยามคเณช.  2554.[ออนไลน์].เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า.  พระพิฆเนศวร
เข้าถึงได้จาก; http://www.siamganesh.com/brahma.html. (วันที่ค้นข้อมูล:13พฤศจิกายน 2559.)

       วรัญญา  หิรัญกุล. 2553.[ออนไลน์].ประวัติเทวสถานโบสถ์พราหมณ์. เข้าถึงได้จาก;http://www.devasthan.org/history_02.html. (วันที่ค้นข้อมูล:13พฤศจิกายน 2559.)

       ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. 2555.[ออนไลน์].เทวสถานโบสถ์พราหมณ์. เข้าถึงได้จาก; http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_web/?q=node/263. (วันที่ค้นข้อมูล:13พฤศจิกายน 2559.)

4.2 สมัยรัชกาลที่ 4-5
             จิตรกรรมเทวรูปพระพิฆเนศวรซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม
ได้มีการทำขึ้นอีกครั้งในรัชกาลที่ 4 เป็นภาพบนบานหน้าต่างด้านในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส
หรือวัดพระแก้ววังหน้า 

-อ้างอิง
       ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. 2555.[ออนไลน์].พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส. เข้าถึงได้จาก;http://www.lib.su.ac.th/rattanagosin_
web/?q=node/191. (วันที่ค้นข้อมูล:15พฤศจิกายน 2559)

       รัตนะ  ประดิษฐวรชัย. 2559.[ออนไลน์].วัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส. เข้าถึงได้จาก; http://oknation.nationtv.tv/blog/
winsstars/2012/04/23/entry-1. (วันที่ค้นข้อมูล:15พฤศจิกายน 2559)


             สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่พระราชนิพนธ์เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับองค์พระพิฆเนศวรโดยตรง ดังปรากฏในพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งทรงออกพระนามพระพิฆเนศวรในพระราชพิธีต่างๆ โดยการเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่ 2 พ.ศ.2438 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนจันทิสิงหส่าหรี และได้ทอดพระเนตรเทวรูปพระพิฆเนศวรขนาดใหญ่องค์หนึ่งที่นั่น ทรงมีพระราชประสงค์จะนำเทวรูปนั้นกลับประเทศไทย ซึ่งเทวรูปองค์นี้ได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

-อ้างอิง
       ช้างไทย. 2554.[ออนไลน์].พระราชพิธีสิบสองเดือน. เข้าถึงได้จาก; http://www.changthaiteam.com/index.phplay=show&ac=
article&Id=539252215&Ntype=4. (วันที่ค้นข้อมูล:12พฤศจิกายน 2559)​


4.3 สมัยรัชกาลที่ 6-7
             หลังจากพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พิมพ์เผยแพร่ออกไป จึงเริ่มมีการรู้จักพระพิฆเนศวรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้ยังคงจำกัดอยู่ในราชสำนัก แผ่นดินรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นยุคของความรุ่งเรืองทางศิลปศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยค้นคว้าอย่างจริงจัง พระองค์ทรงทำตามแบบอย่างชาวฮินดูในการอัญเชิญและกล่าวคำบูชาพระพิฆเนศวร เพื่อขอความเป็นสิริมงคลและความสำเร็จเมื่อจะทรงพระราชนิพนธ์บทประพันธ์ต่างๆ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีความเชื่อว่าพระพิฆเนศวรเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา ทั้งนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวเกี่ยวกับพระพิฆเนศวรโดยเฉพาะเอาไว้ด้วย ได้แก่ บทละครเรื่อง สามัคคีเสวก ตอน กรีนิมิต (พระพิฆเนศวรเสียงา) ทรงกล่าวถึงพระพิฆเนศวรในฐานะบรมครูช้างผู้ใหญ่ ดังนี้
                          “ อนึ่งพระพิฆเณศเดชอุดม           เป็นบรมครูช้างผู้ใหญ่
                      เธอสร้างสรรพกะรีที่ในไพร             เพื่อให้เป็นสง่าแก่ชาตรี
                            สร้างสารแปดตระกูลพูนสวัสดิ์      ประจงจัดสรรพางค์ต่างต่างสี
                     แบ่งปันคณะอัฎฐะกะรี                    ประจำที่อัฏฐทิสสถาพร ”

             กล่าวได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ที่รวบรวมเรื่องของพระพิฆเนศวรตามความเชื่อของคนไทยที่มีมาแต่สมัยอยุธยาอย่างเป็นหมวดหมู่เป็นครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างในการถวายความสำคัญแด่องค์พระพิฆเนศวรให้ปรากฏเป็นรูปธรรมมากที่สุด ทั้งในฐานะเทพเจ้าองค์สำคัญตามคติพราหมณ์-ฮินดู เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฐานะเทพเจ้าแห่งศิลปศาสตร์
และวรรณคดีที่เป็นที่พระราชนิยมของพระองค์เอง
             เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับพระพิฆเนศวรในรัชกาลที่ 6 คือ การที่ทรงมีพระราชดำริให้สร้างเทวาลัยสำหรับพระพิฆเนศวรขึ้น ณ จุดศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์  จังหวัดนครปฐม ในฐานะศาลเทพารักษ์ประจำพระราชฐานแห่งนั้น พร้อมกับพระราชทานนามว่า เทวาลัยคเณศร์ ศาลดังกล่าวประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศวรขนาดใหญ่ทำด้วยสำริดทั้งองค์ และเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างเทวรูปพระพิฆเนศวรขนาดใหญ่ขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์

             อีกเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญในรัชกาลที่ 6 ก็คือการก่อตั้งวรรณคดีสโมสร ใน พ.ศ.2467 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชลัญจกรรูปพระพิฆเนศวรเป็นดวงตราของสโมสรนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่ามีการนับถือเทวะองค์นี้ในฐานะบรมครูทางศิลปศาสตร์อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

 

 


             กรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของไทย ก็ได้ก่อตั้งขึ้นในรัชกาลที่ 6 และมีดวงตราประจำกรมเป็นรูปพระพิฆเนศวรประทับบนลวดลายกระหนก ลักษณะคล้ายเมฆ ทรงถือปาศะครอบน้ำ วัชระ และทันตะ อยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยดวงแก้ว 7 ดวง มีความหมายถึงศิลปวิทยา 7 อย่างที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของกรมศิลปากร ดวงตรานี้ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ.2480 โดยได้รับโอนมาจากวรรณคดีสโมสรที่ยุบเลิกไป และต่อมาได้เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยศิลปากรอีกสถาบันหนึ่ง ด้วยเหตุทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คนไทยจึงมีความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศวรว่าเป็นเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการของไทยมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 


             ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก พระราชพิธีต่างๆ เช่น การโล้ชิงช้าก็ถูกยกเลิกไป ผู้ที่มีความเชื่อเรื่องพระพิฆเนศวรในประเทศไทยนับแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ยังคงสืบทอดการบูชาองค์เทวะนี้ในฐานะบรมครูแห่งศิลปะวิทยาการ การนับถือในสมัยนี้ นอกจากในทางวรรณกรรมก็ยังมีสาขาอื่นแยกย่อยออกไป เช่น นาฏกรรม คีตกรรม ทั้งนี้เพราะอยู่ในขอบเขตหน้าที่ของกรมศิลปากร จนปรากฏเป็นเทพประจำวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร และเป็นเทพแห่งศิลปะการแสดงอีกด้วย ดังปรากฏบนหน้าบันโรงละครแห่งชาติ

 

 

 

 

 

 

 

 


             ในขณะเดียวกัน ภายหลังจากการสร้างเทวาลัยคเณศร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์แล้ว ก็เริ่มมีการประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศวรไว้ในสถานที่ต่างๆ จนเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน

-อ้างอิง
       จิรัสสา คชาชีวะ, เรื่องเดิม, หน้า 122. ลายกระหนกลักษณะคล้ายเมฆก็คือรูปก้อนเมฆในศิลปะไทยแบบประเพณีนั่นเอง การประทับบนก้อนเมฆเป็นการแสดงเทวฐานะซึ่งสถิตในสรวงสวรรค์ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ประทับบนบัลลังก์เมฆ
       เรื่องเดียวกัน, หน้า 123. (วันที่ค้นข้อมูล:17พฤศจิกายน 2559)

       ยลสิริ  เทียมไพโรจน์. 2551.[ออนไลน์].บทเสภาสามัคคีเสวก. เข้าถึงได้จาก; https://prezi.com/hrqtd8lq1liu/presentation/.
(วันที่ค้นข้อมูล:17พฤศจิกายน 2559)

       ครูฮาดีหม๊ะ  แวดะสง. 2258.[ออนไลน์].วรรณคดีสโมสร. เข้าถึงได้จาก; https://hadeemah.wordpress.com/2015/12/08/%E0%
B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3/. (วันที่ค้นข้อมูล:17พฤศจิกายน 2559)

       วันชนะ  เจริญพงษ์. 2554.[ออนไลน์].ตราสัญลักษณ์กรมศิลปากร. เข้าถึงได้จาก; http://logosociety.blogspot.com/2010/08/blog-post_7614.html. (วันที่ค้นข้อมูล: 17พฤศจิกายน 2559)
       อักษรชนนี. 2551.[ออนไลน์].เทวาลัยพระคเณศ พระราชวังสนามจันทร์. เข้าถึงได้จาก; http://oknation.nationtv.tv/blog/aksorn
/2008/06/22/entry-3. (วันที่ค้นข้อมูล:17พฤศจิกายน 2559)

       สำนักพระราชวัง. 2549.[ออนไลน์].เทวาลัยคเณศร์. เข้าถึงได้จาก; https://sites.google.com/site/sanamchanpalace/ganesh-shrine. (วันที่ค้นข้อมูล:17พฤศจิกายน 2559)
       วีระพงษ์  โพธิจิตต์. 2557.[ออนไลน์].พิธีพรรมบวงสรวง. เข้าถึงได้จาก; http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1404795033. (วันที่ค้นข้อมูล:17พฤศจิกายน 2559)

การเข้ามาแพร่กระจายของความเชื่อ เรื่อง พระพิฆเนศวรในประเทศไทย

พระพิฆเนศวรที่เก่าที่สุดในเอเชียอาคเนย์ พุทธศตวรรษที่ 11-12 เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ พระนคร

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/aksorn/2008/06/24/entry-1

พระคเณศสมัยสุโขทัยตอนปลาย

จากภาพถ่ายเก่าในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

เทวรูปที่ถอดแบบจากสมัยสุโขทัยตอนปลายใน พ.ศ. 2529
เข้าพิธีมังคลาภิเษกพระพิฆเนศวรของกรมศิลปากร
ที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ปลายปี พ.ศ. 2540 (อรขร เอกภาพสากล : ภาพ)

ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

พระคเณศศิลา ศิลปะสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 17

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร : ภาพ)

พระคเณศศิลา ศิลปะสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 17
 ปัจจุบัน ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

จิตรกรรมรูปพระคเณศ คัดลอกจากตำราช้าง

ฉบับช่างเขียนหลวง โดย รศ. สน  สีมาตรัง

ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

จิตรกรรมรูปพระคเณศบนบานหน้าต่างพระอุโบสถ

วัดสุทัศนเทพวราราม

ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

พระคเณศบนบานประตูด้านหลังวิหารเก่าวัดเพลงวิปัสสนา
สันนิษฐานว่าสร้างในปลายรัชกาลที่ 3

ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

พระพิฆเนศวรที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงได้มาจากจันทิสิงหส่าหรี อินโดนีเซีย ศิลปะชวาตะวันออก
พุทธศตวรรษที่ 15-16
ปัจจุบันประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ที่มา : http://www.druthit.com/160/

พระพิฆเนศวรปูนปั้นปิดทองประกอบซุ้มพระที่วัดราชาธิวาส

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ 

ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

ดวงตราพระพิฆเนศวรที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ นครศรีธรรมราช

ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์ โดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

เทวาลัยพระพิฆเนศวร ณ แหล่งโบราณคดีเขา จ.นครศรีธรรมราช

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nontree&month=05-2012&date=15&group=15&gblog=175

พิธีโล้ชิงช้า

ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=eCFMJ-WxFac

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.phpbook=34&chap=1&page=t34-1-infodetail05.html

พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=242753

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%
E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D

เทวาลัยคเณศร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

ที่มา : http://place.thai-tour.com/nakornpathom/mueangnakornpathom/322

พระบาทสมเด็จพระมงกถฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่มา : http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/19538/029802

สัญลักษณ์วรรณคดีสโมสร

ที่มา : http://library.montfort.ac.th/mylib/login.php?page=ar&ar_id=9

ตรากรมศิลปากร

ที่มา : http://www.finearts.go.th/fad11/

พระพิฆเนศวรที่ประดิษฐานในหน้าบันของโรงละครแห่งชาติ

ที่มา : http://www.srichinda.com/index.php?lite=article&qid=180728

bottom of page